ถ้าคุณต้องการทำ Ausbildung หรือที่เรียกว่า การเรียนสายอาชีพ เรียน ทำงาน ไม่ว่าจะแค่ เรียนภาษาเยอรมัน หรือ แต่งงานแล้วย้ายมาอยู่ที่เยอรมนีก็ตาม นอกจากภาษาเยอรมันที่จำเป็นต้องรู้แล้ว อีกอย่างหนึ่งที่ควรรู้ คือ วันสําคัญทางศาสนาและวันหยุดราชการต่างๆ เพราะจะทำให้คุณเข้าใจวัฒนธรรมของคนที่นี่ดีขึ้น
- sich vorstellen – 5 Tipps ง่ายๆ แนะนำตัวภาษาเยอรมัน
- 4 เคล็ดลับ ง่ายๆ เรียนภาษา(เยอรมัน)ให้ประสบความสำเร็จ
ประเทศเยอรมนีก็คล้ายๆกับชนชาติอื่นๆ ที่มีวันสําคัญทางศาสนาและวันหยุดราชการ พลเมืองส่วนใหญ่นับถือคริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนท์และนิกายคาทอลิก
วันหยุดส่วนใหญ่จึงเกี่ยวข้องกับทางศาสนาคริสต์ ไม่ว่าคุณจะอยู่ส่วนใหนของประเทศ ตะวันออก ตะวันตก ตอนเหนือ ตอนใต้ วันสําคัญทางศาสนาส่วนใหญ่แล้วจะเหมือนกัน แต่จะมีบางวันหยุดราชการ ที่แตกต่างกันออกไปตามรัฐ (Bundesland) ต่างๆ
บทความนี้เรามาดูกันว่า ที่นี่มีวันสําคัญทางศาสนาและวันหยุดราชการอะไรบ้าง เราจะเริ่มจาก ต้นไปไล่จนไปถึงสิ้นปีกันเลยค่ะ
1️⃣ วันข้ึนปีใหม่ (Neujahr)
วันท่ี 1 มกราคมของทุกปี ถือเป็นวันหยุดราชการ (Feiertag) ก่อนเท่ียงคืน ของวันที่ 31 ธันวาคม ก็มีการนับถอยหลัง และมีการจุดพลุต้อนรับปีใหม่ เหมือนกับที่เมืองไทย หรือ ที่อื่นๆ
2️⃣ เทศกาลโอสเทิร์น (Das Osterfest หรือ วันอีสเตอร์)


กิจกรรมที่ทำในช่วงโอสเทิร์น คือ การ ระบายสีเปลือกไข่ แล้วก็แขวน เป็นของประดับตกแต่งบ้าน
วันอีสเตอร์เป็นเทศกาลที่ชาวคริสต์จะระลึกถึงการที่พระเยซูคริสต์ทรงคืนพระชนม์หรือเกิดใหม่หลังจากที่พระเยซูคริสต์ทรงถูกตรึงบนกางเขน
เทศกาลโอสเทิร์นถือเป็นวันหยุดประจำปี และเป็นเทศกาลทางศาสนาที่เก่าแก่และสำคัญที่สุดอีกวันในศาสนาคริสต์ ซึ่งจะเริ่มต้นต้ังแต่
- Karfreitag (คาร์ฟรายทาก) ซึ่งเป็นวันศุกร์ ที่พระเยซูส้ินชีพจากการถูกตรึงกับไม้กางเขน ในวันนี้ชาวคริสต์จะงดเว้นจากการ รับประทานเนื้อสัตว์ และถือประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกัน
- Ostersonntag (โอสแทร์ซอนน์ทาก) เป็นวันที่มีการสวดขอให้พระเยซูกลับฟื้นคืนชีวิต
- Ostermontag (โอสแทร์โมนทาก) เป็นวันท่ีพระเยซูฟื้นชีพกําหนด วันในปฏิทินสําหรับเทศกาลโอสเทิร์นของแต่ละปีน้ัน ถือเอาวันอาทิตย์แรกหลังจาก ที่พระจันทร์เต็มดวงในฤดูใบไม้ผลิของแต่ละปีเป็นเป็นหลัก
อ่านเพิ่ม: เทศกาลโอสเทิร์น (das Osterfest) – คนเยอรมันทำกิจกรรมอะไรกันบ้าง
3️⃣ วันแรงงาน (1.Mai) Tag der Arbeit
วันที่ 1 พฤษภาคม ถือเป็นวันหยุดสากลของที่นี่ เป็นวันแห่งการต่อสู้ของขบวนการแรงงาน คนงานส่วนใหญ่ใช้วันแรงงานเพื่อพักผ่อนหรือใช้เวลากับครอบครัว
4️⃣ ฮิมเมลฟาร์ท (Himmelfahrt)
คริสตี้ ฮิมเมลฟาร์ท (Christi Himmelfahrt) นับจากโอสเทิร์น 40 วัน เป็นวันเฉลิมฉลองที่พระเยซูทรงฟื้นคืนชีพและเสด็จสู่สวรรค์ “คริสตี้ ฮิมเมลฟาร์ท” ตรงกับวันพฤหัสบดีก่อนฟิงส์เทน (Pfingsten) 9 วัน
5️⃣ ฟิงส์เฟส (Pfingstfest)
หลังโอสเทิร์น 50 วัน เป็นวันฟิงส์เทน (Pfingsten) ซึ่งจะมีสองวันคือ วันอาทิตย์และวันจันทร์
6️⃣ 3 ตุลาคม (3.Oktober) – Tag der Deutschen Einheit

เป็นวันที่ประเทศเยอรมนีตะวันออกและตะวันตกได้ประกาศรวมตัวเป็นประเทศเดียวกันอีกครั้ง เมื่อปี ค.ศ.1990 กําแพงเบอร์ลินท่ีถูกสร้างขึ้นเพื่อกั้นพรมแดนระหว่างเบอร์ลินตะวันออกและตะวันตกถูกทุบทิ้งไป
ตั้งแต่นั้นมาก็เรียกวันสําคัญ วันน้ีว่า “วันแห่งการรวมเป็นหน่ึง (Tag der Vereinigung)” หรือ วันแห่งเอกภาพ
7️⃣ เทศกาลคริสต์มาส (Weihnachtsfest)

เทศกาลคริสต์มาสฉลองกันนานสามวัน เร่ิมต้นในวันท่ี 24 ธันวาคม คือ วันที่พระเยซูประสูติ (der Heiligabend) จะมีการจุดเทียน หรือไฟบทต้นคริสต์มาสและร้องเพลงคริสต์มาสกัน นอกจากนี้ก็มีการมอบของขวัญหรือที่คนเยอรมันเรียกว่า เบเชรุ่ง (Bescherung)
นอกจากนี้ยังมีการฉลองวันท่ี 25 เรียกว่า วันฉลองคริสต์มาสวันท่ี 1 และ วันที่ 26 ธันวาคม ซึ่งเรียกว่า วันฉลองคริสต์มาสวันท่ี 2 (erster und zweiter Weihnachtsfeiertag)
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ถือ เป็นวันหยุดสากล ซึ่งหมายถึง ทุกรัฐประเทศกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ
นอกจากนี้ยังมีวันหยุดราชการในเฉพาะบางรัฐ เช่น ไฮลิเก ดราย เคอนิเก (Heilige Drei Könige) ในวันที่ 6 มกราคม ในรัฐบาเดน-เวือร์ทเทมแบร์ก (Baden-Württemberg) บาเยิร์น (Bayern) และซัคเซน-อันฮัลท์ (Sachsen-Anhalt) เป็นต้น
[…] […]