การเขียนจดหมายภาษาเยอรมัน คำทักทายลงท้าย หรือ ที่ภาษาเยอรมันเรียกว่า Grußformel คือ ประโยคที่คุณจะสามารถสร้างความประทับใจสุดท้ายในจดหมายหรืออีเมลของคุณได้ ดังนั้น ใช้อย่างถูกต้องและให้ตรงกับความหมายถึงสิ่งที่คุณต้องการจะสื่อนะคะ
เคยไหม…
ไม่ว่าจะเป็นการเขียนจดหมายสมัครงาน เพื่อสมัครทำ Ausbildung จดหมายเพื่อติดต่อธุรกิจ จดหมายที่เป็นทางการ หรือ แม้แต่จดหมายส่วนตัวต่างๆ บ่อยครั้งที่เรานึกไม่ออกว่าจะเขียนยังไง จะใช้ภาษาแบบไหน คำไหนดีถึงจะเหมาะสม… 🤔🤔
พอเขียนเนื้อหาของจดหมายเสร็จ แล้วยังกังวลอีกว่า นี่เราใช้คำขึ้นต้นและคำลงท้ายเหมาะสมหรือเปล่า
บทความนี้เรามีข้อมูลที่จะช่วยให้คุณเลือกใช้ได้อย่างถูกต้อง และง่ายขึ้น คำทักทายไหนใช้ได้ดีในสถานการณ์ใหน และข้อผิดพลาดไหนที่ควรหลีกเลี่ยง เพื่อจบอีเมลของคุณอย่างถูกต้องและได้ความหมายอย่างที่คุณต้องการจะสื่อสาร
3 เคล็ดลับ เลือกคำทักทายลงท้ายให้เหมาะสม
1️⃣ สถานการณ์
ไม่มีคำทักทายลงท้ายไหนที่ขีดไว้ตายตัวว่า เหมาะสมสำหรับสถานการณ์นั้นๆเสมอไป สิ่งสำคัญ คือ คำทักทายลงท้ายนั้น นอกจากควรจะต้องสอดคล้องและเหมาะสมกับโครงสร้างของบริษัท แล้วยังต้องเหมาะสมกับสถานการณ์ของจดหมายด้วย
เช่น บริษัทที่เราทำงานจะไม่ค่อยเคร่งมาก จะไม่ค่อยใช่ "Sie-Form“ จะเน้นไปที่ "Du-Form“ เป็นส่วนใหญ่ จดหมายที่มีคำขึ้นต้นอย่าง "Sehr geehrter..." และคำลงท้ายอย่าง "Mit freundlichen Grüßen" แทบจะไม่ได้ใช้เลย ไม่ว่าจะเขียนติดต่อลูกค้าก็ตาม
2️⃣ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้รับและผู้ส่ง
คุณมีความสัมพันธ์แบบไหนกับผู้รับจดหมาย หรือ อีเมลนั้นๆ
ยิ่งคุณรู้จักผู้รับมากเท่าไหร่ คำทักทายก็ยิ่งเป็นส่วนตัวมากขึ้นเท่านั้น ในทางกลับกัน ยิ่งคุณรู้จักผู้รับน้อยเท่าไหร่ คำทักทายก็ยิ่งควรเลือกให้เป็นทางการมากขึ้นเท่านั้น
3️⃣ ความสอดคล้องของคำทักทายขึ้นต้น (Anrede) และคำทักทายลงท้าย
คำทักทายขึ้นต้นและคำทักทายลงท้ายของจดหมายหรืออีเมลต้องสอดคล้องกัน
นั้นหมายถือ ยิ่งคำทักทายขึ้นต้นเป็นทางการมากเท่าไหร่ คำทักทายลงท้ายก็ยิ่งเป็นทางการมากขึ้นเท่านั้น
❌ สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง คือ การใช้คำทักทายขึ้นต้นและคำทักทายลงท้ายต้องอยู่ในระดับเดียวกัน เช่น ขึ้นต้น „Sehr geehrter Herr Müller“ แต่ลงท้ายด้วย „Herzliche Grüße หรือ Liebe Grüße“
ใช้ Grußformeln ให้ถูกต้อง
สิ่งสำคัญพอๆกับการเลือกใช้คำให้ถูกต้อง คือ การใช้อย่างถูกต้อง
มีสองข้อหลักๆที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
- ไม่มีเครื่องหมายใดๆ หลังคำทักทายลงท้ายทั้งนั้นนะคะ ไม่ว่าจะเป็น เครื่องจุลภาค (,) จุด (.) หรือ เครื่องหมายตกใจต่างๆ (!)
- ย่อหน้าก่อนและหลังคำทักทายลงท้าย นั้นหมายถึง คำทักทายลงท้ายจะอยู่อย่างเดี่ยวๆ
ตัวอย่าง Grußformeln
✅ คำทักทายลงท้ายอย่างเป็นสากลและเป็นทางการ
- Mit freundlichen Grüßen สำหรับจดหมายหรืออีเมลที่เป็นทางการ หากคุณไม่แน่ใจว่าจะใช้อะไรดี อันนี่เป็นทางเลือกที่เหมาะสม อาจจะดูธรรดา แต่อย่างน้อย คุณก็ใช้ไม่ผิด
- Freundliche Grüße คล้ายๆกับ Mit freundlichen Grüßen แต่จะสั้นกว่าเท่านั้นเอง
✅ คำทักทายลงท้ายที่เป็นกลางๆ
คำทักทายต่อไปนี้ไม่เป็นทางการหรือเป็นส่วนตัวจนเกินไป
- Viele Grüße
- Beste Grüße / Mit besten Grüßen
- Schöne Grüße / Mit schönen Grüßen
- Mit erwartungsvollen Grüßen
- Noch eine gute Woche / Einen guten Wochenstart
- Einen guten Tag noch und liebe Grüße
- Beste Grüße und ein schönes Wochenende
- Viele Grüße aus (เมือง/ประเทศที่คุณอยู่) / Viele Grüße nach (เมือง/ประเทศที่ผู้รับอยู่) ใช่ในกรณีที่ผู้รับไม่ได้อยู่ในเมืองหรือประเทศเดียวกัน
- Bis morgen / bis demnächst / bis bald
- Mit dankenden Grüßen
✅ ทักทายอย่างเป็นกันเอง
คุณสามารถใช้คำทักทายต่อไปนี้ได้หากคุณรู้จักใครเป็นการส่วนตัวเป็นอย่างดี
- Liebe Grüße
- Herzliche Grüße /Herzlichen Gruß
- Herzlichst
- Mit lieben Grüßen
- Liebe Grüße und eine herzliche Umarmung
- Sei lieb gegrüßt
- Sei umarmt / Fühl dich umarmt
- Alles Liebe / Alles Liebe und Gute
- Gruß und Kuss
- Tschüss/tschau
ตัวย่อ (Abkürzungen)
ในจดหมายหรืออีเมลที่ไม่เป็นทางการ เช่น อีเมลระหว่างเพื่อนร่วมงาน หรือคนที่รู้จักกันดี สามารถใช้ตัวย่อได้ เช่น
- MfG /mfg – mit freundlichen Grüßen
- LG / lG / lg – liebe Grüße
ไม่ว่าจะเป็นจดหมายส่วนตัวหรือเพื่อติดต่อธุรกิจ อย่าลืมว่าความสุภาพควรมาก่อนเสมอ
Leave a Review