หลังจากที่เซ็นสัญญาตกลงทำ Ausbildung กับบริษัทเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ยังมีเอกสารอีกหลายอย่าง ที่คุณจำเป็นต้องเตรียมเพื่อให้การเริ่มต้นชีวิตในการทำงานของคุณนั้น เป็นไปอย่างราบรื่น
ถ้าคุณมีคำถามว่า Ausbildung คือ อะไร
พูดง่ายๆ คือ ระบบการศึกษาสายอาชีพของเยอรมนี ที่มีทั้งการเรียนในโรงเรียนฝึกอาชีพ (Berufsschule) ควบคู่ไปกับการทำงานจริง ๆในบริษัทที่รับคุณเข้าฝึกอบรม (Ausbildungsbetrieb)
ระบบการเรียนสายอาชีพในเยอรมนี มีด้วยกัน 2 แบบ คือ duale Ausbildung (ระบบคู่) และ schulische Ausbildung นะคะ 👉 ข้อมูลเพิ่มเติม จาก บทความนี้ เลย ค่ะ
ตามมาดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง
1️⃣ ใบรับรองแพทย์ (ärztliche Untersuchung)
ตามกฎหมายคุ้มครองผู้เยาว์ของประเทศเยอรมนี สำหรับผู้เยาว์ คือ อายุต่ำกว่า 18 ปี จำเป็นต้องยื่นใบรับรองแพทย์นี้ต่อนายจ้างด้วย
ถ้าคุณอายุเกิน 18 ปี ไม่ได้มีการบังคับว่าต้องยื่น
การขอใบรับรองแพทย์ ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง 👉 บัตรประจำตัวประชาชน หรือ หนังสือเดินทาง หรือ ใบอนุญาตให้อยู่อาศัย (Aufenthaltsgenehmigung) ใครเป็นคนจ่ายค่าตรวจสุขภาพ 👉รัฐจะเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องค่าใช้จ่ายในการตรวจสุขภาพ คุณไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการตรวจด้วย การตรวจสุขภาพนั้น แพทย์จะตรวจสอบว่า คุณมีสภาพร่างกายที่เหมาะสมกับอาชีพนั้นๆหรือไม่ คุณสามารถไปตรวจสุขภาพได้ที่ไหนบ้าง 👉 คุณสามารถตรวจกับคลีนิคแพทย์สามัญ หรือ แพทย์ที่ตรวจโรคทั่วไปได้ (Hausarzt)
2️⃣ บัตรผู้เสียภาษี (Lohnsteuerkarte) และ หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี (steuerliche Identifikationsnummer / Steuer-ID)
หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี เป็นตัวเลขทั้งหมด 11 หลัก ทุกคนที่ลงทะเบียนในเยอรมนีจะมีหมายเลขนี้ ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลง หรือ ใช้ซ้ำกันได้ และสามารถใช้ได้ตลอดชีวิต
หากคุณลงทะเบียนผู้อยู่อาศัยในเยอรมนี หน่วยงานที่รับผิดชอบจะส่งหมายเลขนี้ให้คุณทางไปรษณีย์โดยอัตโนมัติ
ผู้ที่ทำเรียนสายอาชีพระบบคู่ และได้รับเงินประจำเดือน ก็มีหน้าที่ต่อประเทศชาติเหมือนกับพนักงานคนอื่น ๆทั่วไป ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้ ดังนั้น คุณจำเป็นต้องยื่นเอกสารดังกล่าวให้กับนายจ้าง เพื่อให้นายจ้างสามารถชำระภาษีเงินได้ให้กับสำนักงานสรรพากร
ในการคำนวณเงินเดือน บริษัทต้องการข้อมูลอะไรบ้าง 👉 หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี และ วันเดือนปีเกิด ทำยังไงถึงจะได้รับบัตรผู้เสียภาษี และ หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี 👉 หลังจากลงทะเบียนกับสำนักงานทะเบียนในเขตหรือเมืองที่คุณอาศัยอยู่เรียบร้อยแล้ว คุณจะได้รับหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีจาก กระทรวงการคลังของรัฐบาลกลาง (Bundeszentralamt für Steuern หรือ BZSt) ถ้าคุณไม่ได้ลงทะเบียนกับสำนักงานทะเบียน แต่มีรายได้ในเยอรมนี คุณต้องติดต่อ สำนักงานสรรพากร(Finanzamt)ที่รับผิดชอบ หรือ ในเขตที่คุณอาศัยอยู่
3️⃣ บัตรประกันสังคม (Sozialversicherungsausweis)
นอกจากการเสียภาษีแล้ว คุณยังจะต้องจ่ายค่า บำเหน็จบำนาญ (Rentenversicherung) และประกันสังคม (Sozialversicherung) อันนี้เราจะได้รับบัตรประกันสังคม เมื่อมีการเริ่มทำงานและมีรายได้เป็นครั้งแรก ไม่ว่าจะเป็น การทำงานประจำ หรือ การทำ Ausbildung
4️⃣ บัตรประกันสุขภาพ (Krankenversicherung)
บริษัทประกันสุขภาพในเยอรมนี มีให้เลือกมากมาย การบริการก็แตกต่างกันออกไป
5️⃣ บัญชีเงินเดือน (Lohn- und Gehaltskonto)
เนื่องจากการทำเรียนสายอาชีพ ระบบคู่ คุณทำงานที่บริษัทเป็นส่วนใหญ่ คุณจะได้รับค่าตอบแทนเป็นประจำทุกเดือน ดังนั้นคุณต้องแจ้งหมายเลขบัญชีธนาคารให้นายจ้างทราบด้วย
การเริ่มต้นเรียนสายอาชีพ ถือเป็นอีกก้าวที่สำคัญ เพราะคุณกำลัง ก้าวออกจาก comfort zone ของคุณก้าวใหญ่ เพื่อออกไปเผชิญโลกที่คุณไม่คุ้นเคย ไม่แน่ใจ
โลกของการทำงาน ที่ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาของงาน การสื่อสาร หรือ การใช้ภาษาต่างๆ ทั้งหัวหน้า และเพื่อนร่วมงาน ต่างคาดหวังในความเป็นมืออาชีพของคุณ ตัวคุณเองแบกรับความรับผิดชอบมากขึ้น เติบโตขึ้น ได้เรียนรู้อะไรมากขึ้น และทำให้คุณเป็นคนที่มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น
ขอแค่คุณไม่ท้อและไม่ยอมแพ้ คุณทำได้แน่นอนค่ะ
สู้ๆนะคะ เราเชื่อว่าคุณทำได้
มีประโยชน์มากเลยครับ
สวัสดีค่ะ
ขอบคุณมากค่ะ สำหรับ Feedback 🥰🥰🥰
มีประโยชน์มากเลยครับ
สวัสดีค่ะ
ขอบคุณมากค่ะ สำหรับ Feedback 🥰🥰🥰