ThaiAzubi เกิดมาจาก ความคิดที่เราอยากให้คนไทย ที่ต้องการทำ Ausbildung ในเยอรมนี มีแหล่งข้อมูลที่เป็นภาษาไทย เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายๆ ไม่ต้องหาข้อมูลหรือพยายามแปลภาษาเยอรมันเองให้ยุ่งยาก ปวดหัว เพราะเราเองรู้ดีว่าการเตรียมตัว หาข้อมูล เตรียมเอกสาร ใช้เวลานาน เหนื่อยและท้อแท้แค่ไหน อยากล้มเลิกความตั้งใจก็หลายรอบ กว่าจะหา Ausbildung สาขาที่เราอยากทำจริงๆได้
นอกจากนี้ การฝึกและพัฒนาทักษะ ความรู้ภาษาเยอรมัน การปรับตัวในโรงเรียนฝึกอาชีพและในบริษัทที่ฝึกอบรม ก็เป็นเรื่องที่ท้าทายและต้องใช้ความพยายามมากพอสมควร เราจึงได้รวบรวมความรู้และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ พร้อมทั้งคำแนะนำที่มาจากประสบการณ์ของเราเองโดยตรง สำหรับผู้ที่ต้องการทำ Ausbildung ทำงาน หรือวางแผนที่จะใช้ชีวิตในเยอรมนี เพื่อให้คุณได้งานในฝัน และประสบความสำเร็จได้อย่างที่ต้องการ และใช้ชีวิตที่นี่ได้ง่ายขึ้น
ข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น บทความ หรือ คอร์ส Fit für die Ausbildung นี่คือสิ่งที่เราหวังว่าจะมีคนมาให้คำแนะนำดีๆเหล่านี้กับเราตอนที่เราเตรียมตัวเพื่อหาที่ฝึกงาน เพราะนั้นคงจะทำให้ชีวิตเราง่ายขึ้นเยอะ และคงจะประหยัดเวลาไปได้เยอะทีเดียว
Ausbildung คือ ระบบการศึกษาสายอาชีพของเยอรมนี ที่มีทั้งการเรียนในโรงเรียนฝึกอาชีพ (Berufsschule – เบรูฟชูเล) ซึ่งจะสอนวิชาการและวิชาเฉพาะที่เกี่ยวกับอาชีพนั้นๆ ควบคู่ไปกับการเรียนภาคปฏิบัติ คือ การฝึกทำงานจริง ๆในบริษัท ห้างร้าน โรงงานที่รับคุณเข้าฝึกอบรม (Ausbildungsbetrieb)
ระยะเวลาทดลองงาน คือ อย่างน้อย 1 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน สามารถขยายระยะเวลาออกไปได้ ในกรณีที่คุณป่วยเป็นระยะเวลามากกว่า 1 ใน 3 ของระยะเวลาการทดลองงาน
ในระหว่างการฝึกอบรม คุณมีสิทธิ์ลาพักร้อนโดยได้รับค่าจ้างเหมือนเดิม จำนวนวันหยุดขึ้นอยู่กับอายุของคุณ และบริษัทที่คุณฝึกอบรม ตามกฎหมายแล้ว ไม่ต่ำ กว่า 24 วัน ต่อ ปี
ขึ้นอยู่กับสาขา อาชีพที่คุณต้องการจะเรียน ความต้องการของบริษัทที่จะรับคุณเข้าฝึกงาน และความสามารถในการใช้ภาษาของแต่ละคนด้วย อย่างต่ำควรจะอยู่ที่ระดับ B1 หรือ B1+ ขึ้นไป ยิ่งความสามารถทางภาษาดีเท่าไหร่ การเรียนและฝึกงานก็ยิ่งง่ายขึ้นเท่านั้น
Ausbildung มี 2 ระบบ
1. duale Ausbildung หรือ ระบบคู่ 👉 เรียนทฤษฎีในโรงเรียนฝึกอาชีพ ควบคู่กับการทำงานในบริษัทไปด้วย เน้นปฏิบัติเป็นหลัก
2. schulische Ausbildung 👉 เรียนที่โรงเรียนฝึกอาชีพเป็นส่วนใหญ่ เน้นทฤษฎีเป็นหลัก
บริษัทมีหน้าที่จัดหาอุปกรณ์ หนังสือและสื่อการเรียนที่จำเป็นสำหรับการฝึกอบรม ตลอดจนการสอบระดับกลางและปลายภาคให้คุณโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
ชวงทดลองงาน คือ ช่วงเวลาที่ ผู้เข้ารับการฝึกอบรม (Azubi) และ บริษัทที่ฝึกอบรมได้ทำความรู้จัก และเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อให้มีความชัดเจนในสองสิ่ง คือ
โดยปกติแล้ว บริษัทที่ฝึกอบรมจะเป็นผู้สมัครและลงทะเบียนให้ แต่ถ้าทางบริษัทแจ้งไว้อย่างชัดเจนว่า คุณต้องสมัครและลงทะเบียนเรียนเองก็สามารถทำได้
ถ้าคุณสมัครและลงทะเบียนเอง จะต้องยื่นสัญญาการจ้างงานที่คุณทำกับบริษัทที่ฝึกอบรมด้วย
หากคุณสอบไม่ผ่าน คุณสามารถทำซ้ำได้อีกสองครั้ง การสอบซ้ำสามารถทำได้เร็วที่สุดในวันสอบครั้งถัดไป
ได้ค่ะ ช่วงทดลองงาน คือ ช่วงเวลาที่ไม่มีการคุ้มครองการเลิกจ้าง (kein Kündigungsschutz) หมายถึง ในช่วงทดลองงาน บริษัทจะให้คุณออก หรือ คุณจะลาออก โดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้าได้
เน้นการทำงานจริงๆเป็นหลัก ทำให้เมื่อจบมาแล้วมีประสบการณ์ในการทำงานในสาขานั้นๆโดยตรง ทำให้ระบบนี้เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน
อีฟค่ะ
จบ Ausbildung ในเยอรมนีสาขา Kauffrau im E-Commerce ตอนนี้ทำงานเป็น Data Quality Manager กับบริษัทออนไลน์แห่งหนึ่ง อีฟอยู่ที่เยอรมนีมาเกือบจะ 10 ปีแล้วค่ะ
เอาทุกบทเรียนที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำ Ausbildung ทำงานมาแบ่งปัน
เพราะรู้ดีว่า การเริ่มต้นไม่ใช่เรื่องง่าย
#ThaiAzubi